วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

Software หมายถึง อะไร

Software หมายถึง อะไร
.
Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
 มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista
Linux
1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก
 โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language
โปรแกรมแปลภาษแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษาโคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น
เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย
โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น
   1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ การเพิ่มแก้ไขหรือการย่าย หรือลบทิ้ง
   1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อพกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
   1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ
   1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูงต่างๆ เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน
    โปแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน
มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย  เรียกว่า  โปหแรมสำเส็จรูป (Package Program) ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS
 ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ  โปแกรมSAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office ปัจจุบันมีโปแกรมสำเส็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น การเรียนรู้ง่ายและสะดวก
                  อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใข้ได้ทุกอย่างบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม  และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้

 ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
  1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที  ในระยะเริ่มแรกปผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา
เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น
  2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระซับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน สอง ทำให้ผู้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า แอสแซมเบอล (Assemlier)
เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง
 3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยบไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน
เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้  นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น
 - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม
 - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการจัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก
 - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับเครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์
 - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก
 นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น
 โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้
 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น
เช่น 0=a,1=b
 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์เช่น A=0110001,B=011000010
 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้
     8 Bit      =    1 Byte
 1,024 Byte     =    1 Kilobyte
 1,024 Kilobyte =    1 Megabyte
 1,024 Megabyte =    1 Gigabyte
 - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์
 - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word
 - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ
 - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord
- แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์  ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน
- Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord
- Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord
 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program)

การสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

              ช่องทางในการสื่อสาร (Communication  Channel) หมายถึงสื่อ (Medium) ที่เป็นตัวกลางที่อนุญาตให้ข้อมูลสื่อสารผ่านจากจุดถึงส่งถึงผู้รับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง  ปริมาณของข้อมูลที่ช่องทางการสื่อสารสามารถส่งไปได้นั้น  เรียกว่า  ความจุของช่องทางการสื่อสาร  หรือ  แบนด์วิดธ์ (BANDWIDTH) ซึ่งนับเป็นจำนวนบิต (Bit) ต่อ 1 วินาที (bits per second : bps) ซึ่งมีสื่อที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร  ประกอบด้วยสื่อต่างๆ  ดังต่อไปนี้
                สายโทรศัพท์ (Telephone Line) เป็นช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักและให้กันอย่างแพร่หลายเป็นสายสื่อสารที่ใช้ได้ทั้งในบ้านและในองค์กรธุรกิจ  ซึ่งโดนทั่วไปองค์กรการโทรศัพท์ฯ  จะเป็นผู้รับผิดชอบให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้  บริการดังกล่าวได้แก่
                Voice – grade Service  หมายถึง  การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณอนาล็อก (analog) บนสายโทรศัพท์  โดยมีโมเด็มเป็นตัวแปลสัญญาณ  มีแบนวิดธ์เท่ากับ 56 Kbps โดยประมาณ
                ISDN (Integratad  Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูงและความจุของช่องสื่อสารสูงประมาณ 128k bps และยังสามารถแยกช่องสื่อสารเดียวกันออกเป็นช่องสื่อสารเสียง  และช่องสื่อสารสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
                Two-megabit Service เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีความเร็ว 2 Mbps (2,000,000 bits per second)  โดยผ่านโมเด็มสามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหวในระบบวีดีทัศน์  รวมทั้งกราฟิกความเร็วสูง  และการเข้าถึงสารสนเทศแบบ On line real – time  ของผู้ใช้  ณ จุดต่างๆ  ในระบบเครือข่าย
                สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นที่รู้จักกันในนามของสายโทรทัศน์ (Cable Television)  ซึ้งจัดเป็นสายสื่อสารที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณสูงมีการรบกวนต่ำนิยมใช้เป็นช่องสัญญาณอนาล็อกผ่านทะเล  มหาสมุทร และใช้เป็นช่องสัญญาณในระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความจุประมาณ 100 Mbps  ซึ่งจัดไว้ว่าเป็นช่องสื่อสารความจุสูงมาก
                สายใยแก้ว (Fiber Optic Cable)  ซึ่งประกอบด้วยหลอดหรือเส้นไฟเบอร์ขนาดเล็กมากมาย  ภายในกลวงเพื่อให้แสงเลเซอร์วิ่งผ่าน  เป็นสายสื่อสารที่มีความจุของช่องสื่อสารนับเป็นล้านบิตต่อวินาที (Gbps) เนื่องจากใช้แสงในการนำส่งข้อมูลแทนการใช้สัญญาณไฟฟ้าจึงทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่าช่องทางการสื่อสารอื่นๆ
                สัญญาณไมโครเวฟ (Microware Signals หรือ Radio Signals)  เป็นช่องทางการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง  (High  Speed  Wireless)  ซึ่งทำการส่งข้อมูลจากผุ้ส่งไปยังผู้รับโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟหรือสัญญาณวิทยุ  โดยสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรง  จึงต้องมีสถานีรับและส่งเป็นระยะๆ  จากจุดรับสถานีขายสัญญาณจึงมักตั้งอยู่บนที่สูงเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางขณะส่งสัญญาณไปในอากาศได้
ที่มา : เอกสารประกอบการบรรยายการให้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน (ระดับต้น)  สถาบันคอมพิวเตอร์  มหางิทยาลัยรามคำแหง

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(6)

การดูแลรักษาเมาส์

การดูแลรักษาเมาส์
เมาส์เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสกปรก  มากเพราะเวลาที่เราใช้นั้นไม่รู้ว่าเราจับอะไรต่อมิอะไรมา  ทำให้เชื่อโรคสะสมอยู่  โดยเฉพาะเมาส์ที่เป็นลูกกลิ้งนั้น  ลูกกลิ้งจะสัมผัสกับบริเวณโต๊ะหรือว่าแผ่นรองเมาส์จนทำให้เกิดฝุ่นสะสม  แล้วทำให้ไม่สามารถที่จะเลื่อนได้อย่างปกติได้  วิธีการทำความสะอาดนั้นก็นำเอาฝาที่ครอบลูกกลิ้งออก   โดยการหมุนตามลูกศรที่ระบุไว้  นำผ้ามาเช็คที่ลูกกลิ่งแล้วด้านในให้สะอาดถ้าใช้แอลกฮอล์ได้ยิ่งดีครับ  จะได้ฆ่าเชื้อโรคไปด้วย
ส่วนบริเวณอื่นๆ  นั้นให้ใช้สำลีชุบแอลกฮอล์มาเช็ดทำความสะอาด  แต่ในกรณีที่วัสดุของเมาส์ที่เป็นหนัง  ก็ใช้ผ้าซุบหมาดๆเช็ดก็พอ  และบริเวณตรงบริเวณที่ส่องแสงเพื่อใช้จับตำแหน่งเมาส์นั้นให้ใช้สำลีก้านแห้งๆ  ไม่ควรที่จะซุบน้ำ  แอลกอออล์ หรือสารเคมีใดๆ  ทั้งสิ้น  ค่อยเซ็ดอย่างระมัดระวัง  แล้วควรที่จะล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะไปจับมันด้วยนะครับ
การเลือกแผ่นลองเมาส์ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย  โดยเฉพาะคนที่ใช้แบบลูกกลิ้ง  ควรเลือกแผ่นรองที่ผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์  จะช่วยให้การทำงานนั้นราบรื่น  แต่ถ้าใช้แบบเลเซอร์หรือออฟติคอลนั้น  ควรใช้แผ่นรองเมาส์ที่ไม่มีลวดลายและควรมีผิวที่เรียบ  เพื่อประสิทธิภาพในการสะท้อนและการหักเหของแสงด้วย

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(5)

วิธีการดูแลรักษาคีย์บอร์ด

วิธีการดูแลรักษาคีย์บอร์ด
คีย์บอร์ดนั้นก็เป็นแหล่งเพราะเชื้อโรคไม่แพ้เมาส์เช่นกัน  เพราะว่าเราจับอะไรแล้วไม่ล้างมือก็มาพิมพ์มันล่ะก็เลยหรือเรารับประทานขนม  ก็ตกลงไปในร่องคีย์ทำให้หมดขึ้นไปอีก  มดก็ขึ้นทำให้เป็นแหล่งสะสมต่างๆ 
วิธีทำความสะอาดก็สามารถที่จะทำได้โดยนำคีย์บอร์ดนั้นคว่ำลง  แล้วเคาะด้านหลังเพื่อที่จะให้เศษฝุ่นนั้นออกมา  ถ้าจะให้ดีสมควรที่จะหาเครื่องเป่าลมนั่นมาเป่าออก  หรืออาจจะเป็นสเปรย์ลมที่เป็นกระป๋อง  แล้วก็ฉีดตามซอกตามคีย์บอร์ดแล้วควรเลือกสเปรย์กระป๋องที่สามารถใช้ได้กลับทองแดงได้
ถ้าเกิดว่าไม่สามารถที่จะนำเศษออกมาหมดได้  ก็สามารถที่จะแกะปุ่มทีละปุ่มแล้วก็นำมาทำความสะอาดด้วยการนำสำลีชุบแอลกฮอล์มาเช็ดของแต่ละปุ่ม  แต่ก็ต้องวางตำแหน่งให้ถูกด้วยนะครับ  เวลาใส่กลับคืนจะได้พิมพ์ถูก  ส่วนคนที่ใช้โน้ตบุ๊กนั้นก็เกะมาไม่ได้ก็ค่อยๆ  ที่จะเช็ดตามซอกอย่าระมัดระวัง  ไม่ควรที่จะชุบน้ำมาเช็ดหรือถ้าใครที่จะหลีกเลี่ยงจากสิ่งสกปรกต่างก็สามารถที่จะหาซิลิโคนมาใส่เอาไปได้ครับ  ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจตั้งเปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่ต้องเสียตังค์ไป

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(4)

การดูแลรักษาจอมอนิเตอร์

สำหรับจอมอนิเตอร์นี้นะครับก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีฝุ่นเข้าไปเยอะเช่นกัน  แต่เราไม่ค่อยได้ไปแตะต้องชักเท่าไหร่แต่ฝุ่นก็เข้าไปเยอะ  และที่สำคัญถ้าเกิดจอมอนิเตอร์มีฝุ่นจับตรงหน้าจออาจจะทำให้เสียสายตาเวลาที่เราจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ไปนานก็ได้
หากเป็นจอแบบ CRT ให้ใช้น้ำยาเช็ดกระจกได้  หรือน้ำยาทำความสะอาดมอนิเตอร์  บนจอได้เลย  โดยนำเอาผ้าแห้งมาเช็คก่อนหนึ่งรอบ  ให้ฝุ่นละออกก่อนแล้วเช็ดตามทีหลัง  ไม่อย่างนั้นเมื่อเราเช็ดแล้วจะเป็นรอยคราบได้
สำหรับจอ LCD ควรหลีกเลี่ยงน้ำยาทำความสะอาดมอนิเตอร์ยกเว้นเป็นน้ำยาที่ใช้สำหรับทำจอ LCDโดยเฉพาะ  ถ้าเกิดเป็นจอชนิดด้าน  หรือ Anti – Giare นั้นไม่ควรใช้น้ำยาใดๆ  เลยจะดีกว่า  ให้ใช้ผ้าไฟเบอร์เดเพื่อจำกัดฝุ่นระอองและคราบต่างๆ  โดยควรเช็ดไปในทิศทางเดียวกัน  ไม่ควรวนซ้ำๆ  เป็นวงกลม
ในกรณีที่มีคราบติดแน่  ให้ใช้ผ้าซุบน้ำอุ่นที่ผสมกับน้ำส้มสานชู(ใส่นิดเดียวก็พอนะครับ  แล้วผ้าควรเป็นผ้าฝ้าย)เช็ดบริเวณที่มีคราบเกาะติดแน่น  โดยห้ามเช็ดวนๆ  เป็นอันขาด  ให้เช็ดในทางทิศทางเดียวกัน
การนำลำโพงวางไว้ข้างจอมอนิเตอร์นั้นอาจทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในลำโพงมารบกวนสัญญาณภาพของจอมอนิเตอร์  ทำให้การแสดงผลผิดเพี้ยนไปอาจเห็นเป็นคลื่นหรือ  มีสีที่ผิดเพี้ยนไป  หากลำโพงของคุณมีงานประกอบที่ไม่ดีนัก  และไม่อยากซื้อลำโพงใหม่คำแนะนำคือควรวางลำโพงให้ห่างจากจอมอนิเตอร์ราวๆ  สองฟุตก็พอจะช่วยได้นะครับ  แล้วถ้าเกิดอยากจะซื้อใหม่ควรเป็นลำโพงที่มีคุณภาพแล้วมีวัสดุที่สามารถป้องกัน  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(3)

วิธีการดูแลรักษา แรมและการ์ดแสดงผล

หลังจากได้รู้วิธีการดูแลรักษา  อุปกรณ์ภายนอกมาแล้วเราก็มาดูแลรักษาอุปกรณ์ภายในกันต่อเลยครับ  ถึงแม้เราจะไม่ค่อยได้สัมผัสพวกนี้ก็ตาม  เพราะว่าอุปกรณ์ภายนอกนั้นอายุการใช้งานจะสั้นกว่าเพราะการกระทบกระเทือน  จากการใช้งานนั้นมีมาก  และทำให้เสียหายได้มากกว่า  ส่วนอุปกรณ์ภายในนั้นก็สมควรดูแลรักษาเช่นกัน
แม้ว่าเราไม่เคยถอดแรมหรือการ์ดแสดงผลออกจากเมนบอร์ดก็มาทีเถอะ  แต่ว่าบรรดาฝุ่นจ่างๆ  ที่อยู่ภายในเคศก็มีเยอะ  เพราะว่าการที่เคสเรามีพัดลมนั้น  จะทำให้ดูดอากาศเข้าออก แล้วก็นำพาฝุ่นเข้ามาด้วย  แล้วฝุ่นก็สามารถที่จะเข้าไปหน้าสัมผัสทั้งแรมแล้วก็  การ์ดแสดงผลได้  ซึ่งก็จะทำให้อุปกรณ์เกิดปัญหาและคอมพิวเตอร์อาจเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานได้  เพราะฉะนั้นแล้วเราจึงควรที่จะทำความสะอาดด้วย  การทำความสะอาดนั้นก็ง่ายแสนง่ายครับ  เพียงเราถอดแรมหรือว่าการ์ดแสดงผลออกมาเท่านั้นเอง  แล้วหายางลบมาถูๆ  ตรงบริเวณหน้าสัมผัสที่เป็นสีทองเพื่อเป็นการลบเอาคราบฝุ่นต่างๆ  ที่เกาะอยู่ออกไปได้โดยง่ายเลยล่ะ  ส่วนนอกเหนือจากนั้นก็นำแปลงมาปัดฝุ่นตามแรมหรือว่าการ์ดแสดงผลออกไป
สำหรับชุดระบายความร้อนของการ์ดแสดงผลนั้น  โดยทั่วไปแล้วฝุ่นจะเกาะที่บริเวณพัดลม  ให้ใช้เครื่องเป่าลมเปาออกหรืไม่ก็  ใช้สำลีเช็ดฝุ่นที่เกาะอยู่อย่างใจเย็น  ไม่จำเป็นที่จะต้องถอดออกจากตัวการ์ด  ถ้าเกิดเราต้องการที่จะทาซิลิโคนใหม่เราถึงถอดออกเพื่อทาใหม่ได้
การเลือกใส่แรมนั้นถ้าเราเลือกใส่แรมคู่  จะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานโดนรวมของระบบ (Dual-Channel) ของหน่วยความจำนั้นเมมโมรีแบนด์วิดธ์  ได้ถึง 50% แม้ว่าการใช้งานจริงๆ  นั้นอาจะช่วยได้แค่ 15-20% แต่ก็คุ้มที่จะทำครับ  แต่การทำเช่นนี้แล้วนั้นจะต้องเลือกแรมที่มีขนาดเท่ากัน  ความเร็วเท่ากัน  แล้วควรเป็นยี่ห้อเดียวกันด้วย

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(2)

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่บรรจุเก็บความจำและข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเครื่องคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้  เพราะฉะนั้นแล้วเราก็ควรที่จะบำรุงรักษา  เพื่อที่จะให้ใช้งานได้ยาวนานและเก็บข้อมูลเราได้โดยไม่เสียหายได้โดยง่าย 
สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้หัวในการอ่านแผ่นแม่เหล็กเพราะฉะนั้นแล้วจึงต้องดูแลรักษาสิ่งที่จะไปกระทบกระเทือนซึ่งทำให้หัวอ่านชำรุดหรือเลื่อนได้  เพราะฉะนั้นฮาร์ดดิสก์เป็นสิ่งที่เบาะบางจึงไม่ควรที่จะไปกระแทก  โดยฉะเพราะขณะที่กำลังทำงานจะมีโอกาสเสียหายได้มาก  เช่นการที่ไปกระแทกกับตัวเคสเองหรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่จะไปกระทบการทำงานของฮาร์ดดิสก์เอง
การตรวจสอบฮาร์ดดิสก์
เมื่อเราได้ใช้งานไปนานๆ  อาจจะมีพื้นที่หรือส่วนที่เสียของฮาร์ดดิสก์เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นเราควรจะตรวจสอบเพ่อเราจะได้ทราบว่ามีส่วนเสียมากแค่ไหน  หรือว่าอายุจะใช้ได้อีกนานไหมซึ่งจะสามารถเตือนและกำจัดได้  เพราะว่าการตรวจสอบจุดที่เสียของฮาร์ดดิสก์นั้นจะส่วนให้ระบบ  หลีกเลี่ยงการเขียนที่บริเวณนั้นด้วย  โดยการตรวจสอบจุดเสียของฮาร์ดดิสก์นั้นสามารถทำดังต่อไปนี้
- เราสามารถสังเกตุการทำงานของฮาร์ดดิสก์เองเช่น  ทำงานแล้วมีเสียเกิดขึ้นหรือว่าการทำงานที่รู้สึกว่ามันอ่านช้าไปนานๆ  กว่าจะอ่าน  หรืออยู่ดีๆ  ก็เงียบไป  ซึ่งก็แล้วแต่กรณีไปครับ  เพราะว่าฮาร์สดิสก์ใกล้จะผังหรือมีปัญหาแล้วจะมีเสียหัวอ่านที่ดังผิดปกรติ
-  การ Scan Disk เป็นการตรวจสอบจุดเสียจากการใช้โปรแกรมที่มีอยู่ใน  Windows เอง  โดยการ
1.  ดับเบิลคลิกที่  My  computer
 
2. เมื่อเข้าไปแล้วจะเจอไดร์วต่างๆ ที่เราได้ทำการแบ่งหรือว่าคนอื่นทำก็ตาม  ใครที่แบ่งพาร์ติชั้นเยอะหรือว่าฮาร์ดดิสก์มีความจุที่สูง  ก็อาจจะรอนานหน่อยครับ  แล้วก็คลิกขวา  ตามพาร์ติชันที่เราจะตรวจสอบ  เลือกที่ Properties ดังรูป
 
3. แล้วเลือกแท็บ Tool  คลิกที่ Check New
 
แล้วให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่  Automatically fix file systen errors และ for and  attempt recovery  of bad  sectors แล้วคลิก ที่ Start เพื่อเป็นการสแกนดิสก์  แล้วก็จะมีการตรวจสอบจุดเสียโดยอัตโนมัติ 
การทำเช่นนี้  ควรทำบ่อยเมื่อว่างนะครับ
 -  การจัดระเบียบไฟล์ของฮาร์ดดิสก์
ในการทำงานของฮาร์ดิสก์นั้นอาจจะต้องเก็บและอ่านข้อมูลจำนวนมากในแต่ละวันบางทีอาจเรียงลำดับที่ไม่ถูกต้อง  เพราะหัวอ่านต้องเลื่อนไปหลายตำแหน่ง  เพราะฉะนั้นการเก็บข้อมูลเองส่วนใหญ่จะไม่เป็นระเบียบเพราะฉะนั้นแล้วควร  จัดระเบียบเพื่อทำให้การทำงานได้เร็วขึ้น   โยทำตามดังนี้คือ
โดยให้ทำตาม
 โดยให้ทำตามที่เราได้  สแกน  ถึงขั้นที่ 3 แต่ว่าให้เลือกที่  Defragment Now แทน
 
เมื่อปรากฏดังรูปแล้ว   ให้เลือกที่  ไดรว์ที่ต้องการแล้ว  คลิกที่ปุ่ม  Analyze
 
ถ้าเกิดปรากฏ Disk Defragment  ก็ให้คลิกที่ defragment เมื่อดำเนินการต่อไป  อาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร  แต่ควรทำการ defragment เดือนละ 2 ครั้ง