วันศุกร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2556

Software หมายถึง อะไร

Software หมายถึง อะไร
.
Software หมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ทำหน้าที่สั่งการ ควบคุมการ ประมวลผลอุปรกรณ์คอมพิวเตอร์ ในส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ แม้ว่าจะมีความเร็วสูงในการทำงาน
 มีหน่วยความจำสูง และมีอุปรกรณ์ประกอบมากมาย แต่อาร์ดแวร์ทำงานไม่ได้ ถ้าไม่มีชุดคำสั่งควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟท์แวร์หรือชุดคำสั่ง แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือโปรแกรมระบบ และโปแกรมประยุกต์
1. โปรแกรมระบบ (system Soltware) ทำหน้าที่ทำงานที่ควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์จำแนกออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.1 โปรแกรมระบบปฎิบัติการ (Operating System) ประกอบด้วยโปรแกรมการทำงานย่อยๆ ทำหน้าที่ต่างๆ กันระบบปฎิบัตการที่ใช้กันกว้างขวาง คือ Windows XP ,Windows Vista
Linux
1.2 โปรแกรมแปลภาษา (Language Translators) เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาสิก
 โคบอล ฟอร์แทรน โปรแกรมประยุกต์ที่นำเข้ามาสู่หน่วยจำด้วยภาษาที่เขียนขึ้นเราเรียกว่า Source Program ซึ่งเป็นภาษาเครื่องเราเรียกว่า Object Program หรือ Machine Language
โปรแกรมแปลภาษแต่ละตัวจะทำหน้าที่ต่างกันและจะแปลได้ภาษาใดภาษหนึ่งเท่านั้น เช่น โปรแกรมภาษาโคบอลก็จะแปลเฉพาะภาษาโคบอลเท่านั้น โปแกรมภาษาฟอร์แทน ก็จะแปลได้แต่ภาษาฟอร์แทนเท่านั้น
เป็นโปรแกรมที่บริษัทผู้ผลิต เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือหน่วยงานคอมพิวเตอร์จัดทำขึ้นสำหรับการที่จะช่วยการประมวลผล ที่ทำหน้าที่ประจำโปรแกรมดังกล่าวนี้ ประกอบด้วย
โปรแกรมต่าง ๆ ทำหน้าที่เฉพาะงาน เช่น
   1.1.1 Text - Editing Program เป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่เพื่อเตรียมข้อมูลหรือโปแกรม เข้าสู่ระบบ การเพิ่มแก้ไขหรือการย่าย หรือลบทิ้ง
   1.1.2 Diagnostic Program ทำหน้าที่ตรวจสอบข้อพกพร่องของโปแกรมและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
   1.1.3 Peripheral Interchange Program ช่วยจัดย้ายแฟ้มงานข้อมมูลจากสื่อชนิดหนึ่งไปยังสื่ออีกชนิดหนึ่ง เช่น ย้ายข้อมูลในเทปแม่เหล็กไปเก็บไว้ในจานแม่เหล็ก VCD,DVD และอื่นๆ
   1.1.4.Sort/Merge Program ช่วยงานจัดลำดับข้อมูลตามลำดับอักษรหรือลำดับเลขและช่วยงานรวมแฟ้มข้อมูงต่างๆ เข้ามาเก็บไว้ในแฟ้มข้อมูลเดียวกัน
    โปแกรมประยุกต์ คือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ เช่นภาษาเบสิก โคบอล ฟอร์แทรน เพื่อให้คอมพิวเตอร์ประมวลผลตามคาสมต้องการโปแกรมเหล่านี้ผู้ใช้เขียนเอง สำหรับทำงานเฉพาะอย่าง ในขณะเดียวกัน
มีซอฟแวร์จัดทำขึ้นจำหน่วย  เรียกว่า  โปหแรมสำเส็จรูป (Package Program) ผู้ใช้งานสามารถนำมาใช้งานได้เลย เช่นโปแรกม CDS/ISIS
 ซึ่งโปแกรมสำหรับจัดเก็บและสืบค้นสารสนเทศ  โปแกรมSAS,ABSTAT,SPSS,Microsoft Office ปัจจุบันมีโปแกรมสำเส็จรูปจำนวนมาก ไมโครคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ ทำให้การใช้งานทำได้กว้างขวางขึ้น การเรียนรู้ง่ายและสะดวก
                  อย่างไรก็ตาม โปแกรมสำเร็จรูปก็ไม่สนองตอบความต้องการของผู้ใข้ได้ทุกอย่างบางครั้งจำเป็นต้องเขียนโปแกรมขึ้นมาใช้เอง ก็ต้องศึกษาวิธีการเขียนโปแกรม  และต้องแน่ใจว่าเครื่องคอมพิวเตอร์มีตัวแปลภาษา ทำหน้าที่แปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องได้

 ภาษาเครื่องคอมพิวเตอร์แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่ม
  1.ภาษาเครื่อง ประกอบด้วยกลุ่มเลขฐานสอง ซึ่งเป็นภาษาเดียวที่เครื่องสามารถรับรู้และนำไปปฎิบัติได้ทันที  ในระยะเริ่มแรกปผู้ใช้จะต้องเรียนรู้ภาษาเครื่อง จึงจะสามารถเขียนคำสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้ และการใช้ภาษา
เครื่องจำเป็นต้องเรียนรู้และเข้าใจอย่างลึกซึง จึงนับว่าเป็นความยากลำบากอย่างมากและไม่สะดวกที่จะใช้งาน จึงมีผู้พัฒนาภาษาให้มีความสะดวกมากขึ้น
  2. ภาษาระดับต่ำ เป็นภาษาที่ใกล้เคียงกับภาษาเครื่อง แต่ทำให้กระซับกว่า โดยผู้ใช้ตัวอักษรแทนเลขฐาน สอง ทำให้ผู้ผู้เขียนชุดคำสั่งสะดวกมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รับคำสั่งภาษาแอสแซบบลีก็จะแปลให้เป็นภาษาที่เรียกว่า แอสแซมเบอล (Assemlier)
เพื่อแปลคำสั่งให้เป็นภาษาเครื่องแม้ว่าผู้ใช้งานจะเข้าใจหรือไม่ก็ตามกับภาษาเครื่อง แต่ยังคงมีความไม่สะดวกเพราะพัฒนามาจากภาษาเครื่อง
 3. ภาษาระดับสูงเป็นภาษาที่ออกแบบให้ใกล้เคียงกับภาษามนุษย์จึงทำให้ผู้ใช้งานได้เข้าใจง่ายกว่าภาษาคอมพิวเตอร์ 2 กลุ่ม ที่กล่าวมา โดยบไม่คำนึงถึงรายละเอียดในระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไม่มากนักไม่จำเป็นต้องมีพื้นฐาน
เกี่ยวกับภาษาเครื่อง ภาษาระดับสูงนี้สามารถนำไปใช้งานกับคอมพิวเตอร์ในระบบอื่นได้  นับว่าเป็นภาษาที่สะดวกแก่การใช้งานมากขึ้น แต่ละภาษามีจุดเด่นต่างกัน ต้องมีการพิจารณาเป็นพิเศษ ตัวอย่างเช่น
 - FORTRAN เป็นภาษาที่มีความสามารถในการคำนาณสูงมาก เหมาะสำหรับงานวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม
 - COBOL เหมาพสำหรับการใช้งานทางด้สนธุรกิจการบัญชีการธนาคาร ความสามารถในการจัดการกับแฟ้มข้อมูลจำนวณมาก
 - BASIC เป็นภาษษคอมพิวเตอร์ที่สร้างขึ้นให้มีลักษณธที่ใช้งานง่าย ศึกษาได้ง่ายผู้ใช้สามารถตอบกับเครื่องในโปรแกรมและเหมาะแก่แารใช้งานทางธุรกิจ วิทยาศาสตร์ แต่ภาษาเบสิกยังจัดได้ว่าใหช้งานได้ไม่ดีนัก ส่วนใหญ่ใช้ในไมดครคอมพิวเตอร์
 - PACAL เป็นภาษาที่พัฒนามาจากโปรแกรมโครงสร้าง แต่จัดอยู่นะดับปลานกลางเพราะ การจัดการข้อมลูไม่ได้มาก
 นอกจากที่กล่าวมาแล้วยังมีภาษาระดับสูงอีกเช่น ALGOL,ADA,ALP,PROLOG,C เป็นต้น
 โครงสร้างข้อมูล (DATA Structure) ข้อมูลที่ใช้ในการประมวลผลมีรายละเอียดดังนี้
 1.บิท(Bit) เป็นหน่วยข้อมูลที่เล็กที่สุดในคอมพิวเตอร์ ย่อมาจาก Binary digit หมายถึงเลขฐานสองที่มีค่า 0หรือ 1ดังนั้นในแต่ละบิทจึงแทนค่าได้เพียงสองสภาวะ หรือถ้าแทนตัวอักษรจะได้เพียง สองตัวอักษรเท่านั้น
เช่น 0=a,1=b
 2.ไบต์ (Byte)หมายถึง หน่วยข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่ใช้แทนตัวอักษร (Character) หนึ่งตัวหรือหนึ่งไบต์เช่น A=0110001,B=011000010
 ไบต์ เป็นหน่วยข้อมมูลที่มีขนาดใหญ่กว่าบิทและใช้บอกขนาดความจุในการเก็บข้อมมูลในคอมพิวเตอร์โดยมีหน่วยเรียดว่า ดังนี้
     8 Bit      =    1 Byte
 1,024 Byte     =    1 Kilobyte
 1,024 Kilobyte =    1 Megabyte
 1,024 Megabyte =    1 Gigabyte
 - ตัวอักษร (Charater)หมายถึงสัญลักษณ์ ที่ใช้ในการประเมินผล เช่น 0-9,a-z'ก-ฮ และเครื่องหมายอื่นๆ ซึ่งจะมีความหมายเช่นเดียวกับไบต์
 - คำ(Word)หมายถึง กลุ่มของไบต์ หรือหน่วยหลักของเขตข้อมูลที่ใช้ในหน่วยความจำหลักของข้อมูล เช่น24 Bits/word หรือ32 Bist/word
 - เขตข้อมมูล (Field)หมายถึง กลุ่มของไบต์หรือว่ากลุ่มตัวอักษร ที่มีขอบเขตเป็นพื้นที่เฉพาะอันใดอันหนึ่ง ในการบันทึกข้อมูลในแต่ละรายการ เช่น เขตข้อมูลในแต่ล่ะรายการ เช่น เขตข้อมูลของชื่อและนามสกุลหรือประวัติ
 - ระเบียบ (Recrod)หมายถึง ข้อมูลหนึ่งที่เป็นองค์ประกอบของแฟ้มข้อมมูลหรือกลุ่มของข้อมมูลชุดหนึ่ง หรือกลุ่มของเขตข้อมมูลที่ประกอบขึ้นเป็น Recrord
- แฟ้ม (File)หมายถึงชุดข้อมมูล ซึ่งประกอบไปด้วยไปด้วยกลุ่มของระเบียบที่มีวัตถุประสงค์  ในการปะเมินผลร่วมกัน เช่น แฟ้มข้อมมูลของนักศึกษาก็จะประกอบไปด้วยระเบียบของนักศึกษาทุกๆคน
- Vector หมายถึง Field ที่ตรงกันในแต่ล่ะ Recrord
- Array หมายถึง กลุ่มของ Vector ทั้งหมดใน Recrord
 1.3โปรแกรมอำนวจจความสะดวก (Utility Program)

การสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

              ช่องทางในการสื่อสาร (Communication  Channel) หมายถึงสื่อ (Medium) ที่เป็นตัวกลางที่อนุญาตให้ข้อมูลสื่อสารผ่านจากจุดถึงส่งถึงผู้รับในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายหนึ่งไปยังอีกเครือข่ายหนึ่ง  ปริมาณของข้อมูลที่ช่องทางการสื่อสารสามารถส่งไปได้นั้น  เรียกว่า  ความจุของช่องทางการสื่อสาร  หรือ  แบนด์วิดธ์ (BANDWIDTH) ซึ่งนับเป็นจำนวนบิต (Bit) ต่อ 1 วินาที (bits per second : bps) ซึ่งมีสื่อที่ทำหน้าที่เป็นช่องทางการสื่อสาร  ประกอบด้วยสื่อต่างๆ  ดังต่อไปนี้
                สายโทรศัพท์ (Telephone Line) เป็นช่องทางการสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักและให้กันอย่างแพร่หลายเป็นสายสื่อสารที่ใช้ได้ทั้งในบ้านและในองค์กรธุรกิจ  ซึ่งโดนทั่วไปองค์กรการโทรศัพท์ฯ  จะเป็นผู้รับผิดชอบให้บริการสื่อสารข้อมูลผ่านสื่อกลางชนิดนี้  บริการดังกล่าวได้แก่
                Voice – grade Service  หมายถึง  การสื่อสารข้อมูลในรูปของสัญญาณอนาล็อก (analog) บนสายโทรศัพท์  โดยมีโมเด็มเป็นตัวแปลสัญญาณ  มีแบนวิดธ์เท่ากับ 56 Kbps โดยประมาณ
                ISDN (Integratad  Services Digital Network) เป็นระบบเครือข่ายที่มีความเร็วสูงและความจุของช่องสื่อสารสูงประมาณ 128k bps และยังสามารถแยกช่องสื่อสารเดียวกันออกเป็นช่องสื่อสารเสียง  และช่องสื่อสารสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์
                Two-megabit Service เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่มีความเร็ว 2 Mbps (2,000,000 bits per second)  โดยผ่านโมเด็มสามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปของภาพเคลื่อนไหวในระบบวีดีทัศน์  รวมทั้งกราฟิกความเร็วสูง  และการเข้าถึงสารสนเทศแบบ On line real – time  ของผู้ใช้  ณ จุดต่างๆ  ในระบบเครือข่าย
                สายโคแอกเชียล (Coaxial Cable) เป็นที่รู้จักกันในนามของสายโทรทัศน์ (Cable Television)  ซึ้งจัดเป็นสายสื่อสารที่มีความเร็วในการส่งสัญญาณสูงมีการรบกวนต่ำนิยมใช้เป็นช่องสัญญาณอนาล็อกผ่านทะเล  มหาสมุทร และใช้เป็นช่องสัญญาณในระบบเครือข่ายแบบ LAN มีความจุประมาณ 100 Mbps  ซึ่งจัดไว้ว่าเป็นช่องสื่อสารความจุสูงมาก
                สายใยแก้ว (Fiber Optic Cable)  ซึ่งประกอบด้วยหลอดหรือเส้นไฟเบอร์ขนาดเล็กมากมาย  ภายในกลวงเพื่อให้แสงเลเซอร์วิ่งผ่าน  เป็นสายสื่อสารที่มีความจุของช่องสื่อสารนับเป็นล้านบิตต่อวินาที (Gbps) เนื่องจากใช้แสงในการนำส่งข้อมูลแทนการใช้สัญญาณไฟฟ้าจึงทำให้มีความเร็วในการส่งข้อมูลมากกว่าช่องทางการสื่อสารอื่นๆ
                สัญญาณไมโครเวฟ (Microware Signals หรือ Radio Signals)  เป็นช่องทางการสื่อสารไร้สายความเร็วสูง  (High  Speed  Wireless)  ซึ่งทำการส่งข้อมูลจากผุ้ส่งไปยังผู้รับโดยอาศัยสัญญาณไมโครเวฟหรือสัญญาณวิทยุ  โดยสัญญาณจะวิ่งเป็นเส้นตรง  จึงต้องมีสถานีรับและส่งเป็นระยะๆ  จากจุดรับสถานีขายสัญญาณจึงมักตั้งอยู่บนที่สูงเพื่อไม่ให้มีสิ่งกีดขวางขณะส่งสัญญาณไปในอากาศได้
ที่มา : เอกสารประกอบการบรรยายการให้คอมพิวเตอร์ในสำนักงาน (ระดับต้น)  สถาบันคอมพิวเตอร์  มหางิทยาลัยรามคำแหง

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(6)

การดูแลรักษาเมาส์

การดูแลรักษาเมาส์
เมาส์เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีความสกปรก  มากเพราะเวลาที่เราใช้นั้นไม่รู้ว่าเราจับอะไรต่อมิอะไรมา  ทำให้เชื่อโรคสะสมอยู่  โดยเฉพาะเมาส์ที่เป็นลูกกลิ้งนั้น  ลูกกลิ้งจะสัมผัสกับบริเวณโต๊ะหรือว่าแผ่นรองเมาส์จนทำให้เกิดฝุ่นสะสม  แล้วทำให้ไม่สามารถที่จะเลื่อนได้อย่างปกติได้  วิธีการทำความสะอาดนั้นก็นำเอาฝาที่ครอบลูกกลิ้งออก   โดยการหมุนตามลูกศรที่ระบุไว้  นำผ้ามาเช็คที่ลูกกลิ่งแล้วด้านในให้สะอาดถ้าใช้แอลกฮอล์ได้ยิ่งดีครับ  จะได้ฆ่าเชื้อโรคไปด้วย
ส่วนบริเวณอื่นๆ  นั้นให้ใช้สำลีชุบแอลกฮอล์มาเช็ดทำความสะอาด  แต่ในกรณีที่วัสดุของเมาส์ที่เป็นหนัง  ก็ใช้ผ้าซุบหมาดๆเช็ดก็พอ  และบริเวณตรงบริเวณที่ส่องแสงเพื่อใช้จับตำแหน่งเมาส์นั้นให้ใช้สำลีก้านแห้งๆ  ไม่ควรที่จะซุบน้ำ  แอลกอออล์ หรือสารเคมีใดๆ  ทั้งสิ้น  ค่อยเซ็ดอย่างระมัดระวัง  แล้วควรที่จะล้างมือให้สะอาดก่อนที่จะไปจับมันด้วยนะครับ
การเลือกแผ่นลองเมาส์ก็มีส่วนสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพด้วย  โดยเฉพาะคนที่ใช้แบบลูกกลิ้ง  ควรเลือกแผ่นรองที่ผลิตจากพลาสติกสังเคราะห์  จะช่วยให้การทำงานนั้นราบรื่น  แต่ถ้าใช้แบบเลเซอร์หรือออฟติคอลนั้น  ควรใช้แผ่นรองเมาส์ที่ไม่มีลวดลายและควรมีผิวที่เรียบ  เพื่อประสิทธิภาพในการสะท้อนและการหักเหของแสงด้วย

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(5)

วิธีการดูแลรักษาคีย์บอร์ด

วิธีการดูแลรักษาคีย์บอร์ด
คีย์บอร์ดนั้นก็เป็นแหล่งเพราะเชื้อโรคไม่แพ้เมาส์เช่นกัน  เพราะว่าเราจับอะไรแล้วไม่ล้างมือก็มาพิมพ์มันล่ะก็เลยหรือเรารับประทานขนม  ก็ตกลงไปในร่องคีย์ทำให้หมดขึ้นไปอีก  มดก็ขึ้นทำให้เป็นแหล่งสะสมต่างๆ 
วิธีทำความสะอาดก็สามารถที่จะทำได้โดยนำคีย์บอร์ดนั้นคว่ำลง  แล้วเคาะด้านหลังเพื่อที่จะให้เศษฝุ่นนั้นออกมา  ถ้าจะให้ดีสมควรที่จะหาเครื่องเป่าลมนั่นมาเป่าออก  หรืออาจจะเป็นสเปรย์ลมที่เป็นกระป๋อง  แล้วก็ฉีดตามซอกตามคีย์บอร์ดแล้วควรเลือกสเปรย์กระป๋องที่สามารถใช้ได้กลับทองแดงได้
ถ้าเกิดว่าไม่สามารถที่จะนำเศษออกมาหมดได้  ก็สามารถที่จะแกะปุ่มทีละปุ่มแล้วก็นำมาทำความสะอาดด้วยการนำสำลีชุบแอลกฮอล์มาเช็ดของแต่ละปุ่ม  แต่ก็ต้องวางตำแหน่งให้ถูกด้วยนะครับ  เวลาใส่กลับคืนจะได้พิมพ์ถูก  ส่วนคนที่ใช้โน้ตบุ๊กนั้นก็เกะมาไม่ได้ก็ค่อยๆ  ที่จะเช็ดตามซอกอย่าระมัดระวัง  ไม่ควรที่จะชุบน้ำมาเช็ดหรือถ้าใครที่จะหลีกเลี่ยงจากสิ่งสกปรกต่างก็สามารถที่จะหาซิลิโคนมาใส่เอาไปได้ครับ  ไม่เช่นนั้นแล้วเราอาจตั้งเปลี่ยนคีย์บอร์ดใหม่ต้องเสียตังค์ไป

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(4)

การดูแลรักษาจอมอนิเตอร์

สำหรับจอมอนิเตอร์นี้นะครับก็เป็นส่วนหนึ่งที่มีฝุ่นเข้าไปเยอะเช่นกัน  แต่เราไม่ค่อยได้ไปแตะต้องชักเท่าไหร่แต่ฝุ่นก็เข้าไปเยอะ  และที่สำคัญถ้าเกิดจอมอนิเตอร์มีฝุ่นจับตรงหน้าจออาจจะทำให้เสียสายตาเวลาที่เราจ้องหน้าคอมพิวเตอร์ไปนานก็ได้
หากเป็นจอแบบ CRT ให้ใช้น้ำยาเช็ดกระจกได้  หรือน้ำยาทำความสะอาดมอนิเตอร์  บนจอได้เลย  โดยนำเอาผ้าแห้งมาเช็คก่อนหนึ่งรอบ  ให้ฝุ่นละออกก่อนแล้วเช็ดตามทีหลัง  ไม่อย่างนั้นเมื่อเราเช็ดแล้วจะเป็นรอยคราบได้
สำหรับจอ LCD ควรหลีกเลี่ยงน้ำยาทำความสะอาดมอนิเตอร์ยกเว้นเป็นน้ำยาที่ใช้สำหรับทำจอ LCDโดยเฉพาะ  ถ้าเกิดเป็นจอชนิดด้าน  หรือ Anti – Giare นั้นไม่ควรใช้น้ำยาใดๆ  เลยจะดีกว่า  ให้ใช้ผ้าไฟเบอร์เดเพื่อจำกัดฝุ่นระอองและคราบต่างๆ  โดยควรเช็ดไปในทิศทางเดียวกัน  ไม่ควรวนซ้ำๆ  เป็นวงกลม
ในกรณีที่มีคราบติดแน่  ให้ใช้ผ้าซุบน้ำอุ่นที่ผสมกับน้ำส้มสานชู(ใส่นิดเดียวก็พอนะครับ  แล้วผ้าควรเป็นผ้าฝ้าย)เช็ดบริเวณที่มีคราบเกาะติดแน่น  โดยห้ามเช็ดวนๆ  เป็นอันขาด  ให้เช็ดในทางทิศทางเดียวกัน
การนำลำโพงวางไว้ข้างจอมอนิเตอร์นั้นอาจทำให้เกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าภายในลำโพงมารบกวนสัญญาณภาพของจอมอนิเตอร์  ทำให้การแสดงผลผิดเพี้ยนไปอาจเห็นเป็นคลื่นหรือ  มีสีที่ผิดเพี้ยนไป  หากลำโพงของคุณมีงานประกอบที่ไม่ดีนัก  และไม่อยากซื้อลำโพงใหม่คำแนะนำคือควรวางลำโพงให้ห่างจากจอมอนิเตอร์ราวๆ  สองฟุตก็พอจะช่วยได้นะครับ  แล้วถ้าเกิดอยากจะซื้อใหม่ควรเป็นลำโพงที่มีคุณภาพแล้วมีวัสดุที่สามารถป้องกัน  คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(3)

วิธีการดูแลรักษา แรมและการ์ดแสดงผล

หลังจากได้รู้วิธีการดูแลรักษา  อุปกรณ์ภายนอกมาแล้วเราก็มาดูแลรักษาอุปกรณ์ภายในกันต่อเลยครับ  ถึงแม้เราจะไม่ค่อยได้สัมผัสพวกนี้ก็ตาม  เพราะว่าอุปกรณ์ภายนอกนั้นอายุการใช้งานจะสั้นกว่าเพราะการกระทบกระเทือน  จากการใช้งานนั้นมีมาก  และทำให้เสียหายได้มากกว่า  ส่วนอุปกรณ์ภายในนั้นก็สมควรดูแลรักษาเช่นกัน
แม้ว่าเราไม่เคยถอดแรมหรือการ์ดแสดงผลออกจากเมนบอร์ดก็มาทีเถอะ  แต่ว่าบรรดาฝุ่นจ่างๆ  ที่อยู่ภายในเคศก็มีเยอะ  เพราะว่าการที่เคสเรามีพัดลมนั้น  จะทำให้ดูดอากาศเข้าออก แล้วก็นำพาฝุ่นเข้ามาด้วย  แล้วฝุ่นก็สามารถที่จะเข้าไปหน้าสัมผัสทั้งแรมแล้วก็  การ์ดแสดงผลได้  ซึ่งก็จะทำให้อุปกรณ์เกิดปัญหาและคอมพิวเตอร์อาจเกิดข้อผิดพลาดในการทำงานได้  เพราะฉะนั้นแล้วเราจึงควรที่จะทำความสะอาดด้วย  การทำความสะอาดนั้นก็ง่ายแสนง่ายครับ  เพียงเราถอดแรมหรือว่าการ์ดแสดงผลออกมาเท่านั้นเอง  แล้วหายางลบมาถูๆ  ตรงบริเวณหน้าสัมผัสที่เป็นสีทองเพื่อเป็นการลบเอาคราบฝุ่นต่างๆ  ที่เกาะอยู่ออกไปได้โดยง่ายเลยล่ะ  ส่วนนอกเหนือจากนั้นก็นำแปลงมาปัดฝุ่นตามแรมหรือว่าการ์ดแสดงผลออกไป
สำหรับชุดระบายความร้อนของการ์ดแสดงผลนั้น  โดยทั่วไปแล้วฝุ่นจะเกาะที่บริเวณพัดลม  ให้ใช้เครื่องเป่าลมเปาออกหรืไม่ก็  ใช้สำลีเช็ดฝุ่นที่เกาะอยู่อย่างใจเย็น  ไม่จำเป็นที่จะต้องถอดออกจากตัวการ์ด  ถ้าเกิดเราต้องการที่จะทาซิลิโคนใหม่เราถึงถอดออกเพื่อทาใหม่ได้
การเลือกใส่แรมนั้นถ้าเราเลือกใส่แรมคู่  จะเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานโดนรวมของระบบ (Dual-Channel) ของหน่วยความจำนั้นเมมโมรีแบนด์วิดธ์  ได้ถึง 50% แม้ว่าการใช้งานจริงๆ  นั้นอาจะช่วยได้แค่ 15-20% แต่ก็คุ้มที่จะทำครับ  แต่การทำเช่นนี้แล้วนั้นจะต้องเลือกแรมที่มีขนาดเท่ากัน  ความเร็วเท่ากัน  แล้วควรเป็นยี่ห้อเดียวกันด้วย

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์(2)

การดูแลรักษาฮาร์ดดิสก์

ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่บรรจุเก็บความจำและข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเครื่องคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้  เพราะฉะนั้นแล้วเราก็ควรที่จะบำรุงรักษา  เพื่อที่จะให้ใช้งานได้ยาวนานและเก็บข้อมูลเราได้โดยไม่เสียหายได้โดยง่าย 
สำหรับฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้หัวในการอ่านแผ่นแม่เหล็กเพราะฉะนั้นแล้วจึงต้องดูแลรักษาสิ่งที่จะไปกระทบกระเทือนซึ่งทำให้หัวอ่านชำรุดหรือเลื่อนได้  เพราะฉะนั้นฮาร์ดดิสก์เป็นสิ่งที่เบาะบางจึงไม่ควรที่จะไปกระแทก  โดยฉะเพราะขณะที่กำลังทำงานจะมีโอกาสเสียหายได้มาก  เช่นการที่ไปกระแทกกับตัวเคสเองหรืออย่างใดอย่างหนึ่งที่จะไปกระทบการทำงานของฮาร์ดดิสก์เอง
การตรวจสอบฮาร์ดดิสก์
เมื่อเราได้ใช้งานไปนานๆ  อาจจะมีพื้นที่หรือส่วนที่เสียของฮาร์ดดิสก์เกิดขึ้นเพราะฉะนั้นเราควรจะตรวจสอบเพ่อเราจะได้ทราบว่ามีส่วนเสียมากแค่ไหน  หรือว่าอายุจะใช้ได้อีกนานไหมซึ่งจะสามารถเตือนและกำจัดได้  เพราะว่าการตรวจสอบจุดที่เสียของฮาร์ดดิสก์นั้นจะส่วนให้ระบบ  หลีกเลี่ยงการเขียนที่บริเวณนั้นด้วย  โดยการตรวจสอบจุดเสียของฮาร์ดดิสก์นั้นสามารถทำดังต่อไปนี้
- เราสามารถสังเกตุการทำงานของฮาร์ดดิสก์เองเช่น  ทำงานแล้วมีเสียเกิดขึ้นหรือว่าการทำงานที่รู้สึกว่ามันอ่านช้าไปนานๆ  กว่าจะอ่าน  หรืออยู่ดีๆ  ก็เงียบไป  ซึ่งก็แล้วแต่กรณีไปครับ  เพราะว่าฮาร์สดิสก์ใกล้จะผังหรือมีปัญหาแล้วจะมีเสียหัวอ่านที่ดังผิดปกรติ
-  การ Scan Disk เป็นการตรวจสอบจุดเสียจากการใช้โปรแกรมที่มีอยู่ใน  Windows เอง  โดยการ
1.  ดับเบิลคลิกที่  My  computer
 
2. เมื่อเข้าไปแล้วจะเจอไดร์วต่างๆ ที่เราได้ทำการแบ่งหรือว่าคนอื่นทำก็ตาม  ใครที่แบ่งพาร์ติชั้นเยอะหรือว่าฮาร์ดดิสก์มีความจุที่สูง  ก็อาจจะรอนานหน่อยครับ  แล้วก็คลิกขวา  ตามพาร์ติชันที่เราจะตรวจสอบ  เลือกที่ Properties ดังรูป
 
3. แล้วเลือกแท็บ Tool  คลิกที่ Check New
 
แล้วให้ติ๊กเครื่องหมายถูกที่  Automatically fix file systen errors และ for and  attempt recovery  of bad  sectors แล้วคลิก ที่ Start เพื่อเป็นการสแกนดิสก์  แล้วก็จะมีการตรวจสอบจุดเสียโดยอัตโนมัติ 
การทำเช่นนี้  ควรทำบ่อยเมื่อว่างนะครับ
 -  การจัดระเบียบไฟล์ของฮาร์ดดิสก์
ในการทำงานของฮาร์ดิสก์นั้นอาจจะต้องเก็บและอ่านข้อมูลจำนวนมากในแต่ละวันบางทีอาจเรียงลำดับที่ไม่ถูกต้อง  เพราะหัวอ่านต้องเลื่อนไปหลายตำแหน่ง  เพราะฉะนั้นการเก็บข้อมูลเองส่วนใหญ่จะไม่เป็นระเบียบเพราะฉะนั้นแล้วควร  จัดระเบียบเพื่อทำให้การทำงานได้เร็วขึ้น   โยทำตามดังนี้คือ
โดยให้ทำตาม
 โดยให้ทำตามที่เราได้  สแกน  ถึงขั้นที่ 3 แต่ว่าให้เลือกที่  Defragment Now แทน
 
เมื่อปรากฏดังรูปแล้ว   ให้เลือกที่  ไดรว์ที่ต้องการแล้ว  คลิกที่ปุ่ม  Analyze
 
ถ้าเกิดปรากฏ Disk Defragment  ก็ให้คลิกที่ defragment เมื่อดำเนินการต่อไป  อาจใช้ระยะเวลานานพอสมควร  แต่ควรทำการ defragment เดือนละ 2 ครั้ง

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

วิธีทำความสะอาด พรินเตอร์

วันนี้ผมมีเทคนิคกับการทำความสะอาด  พรินเตอร์มาฝากครับ  ใครหลายๆคนที่ใช้เครื่องพรินอาจจะยังไม่รู้จักการทำความสะอาด  ในส่วนต่างๆของเครื่องพรินเอง  ซึ่งเครื่องพรินเองเป็นอุปกรณ์ที่ที่ต้องทำความสะอาด  ในส่วนต่างๆ  เพราะว่าไม่ว่าจะเป็นหมึก  หรือจะเป็นฝุ่นเข้าไป  อาจจะไปทำให้การทำงานบกพร่องก็ได้ครับ
เครื่องพรินเตอร์แบบ  Inkjet ปกติแล้วจะมีซอฟต์แวร์ที่ใช้สำหรับทำความสะอาดและปรับจูนหัวอ่านให้มาอยู่แล้วทุกยี่ห้อ  แต่หากไม่ได้ใช้งานเป็นระยะเวลานานๆ  ควรถอดตลับหมึกออกมาแล้วเช็ดทำความสะอาดฝุ่นที่อาจจะติดอยู่ภายตัวเครื่องออก  และหากมีหมึกเยิ้มออกมาจากตลับหมึกก็ให้ใช้ทิปชู่  ซับทำความสะอาดก่อนเพื่อจะไดง่านแต่การทำความสะอาด  และช่วยในการไม่ให้หมึกแห้งแล้วจับเป็นก้อนซึ่งอาจมีผลต่ออนาคตได้
เครื่องพรินเตอร์แบบ  Laser นั้น  หากมีการใช้งานเป็นประจำแล้ว  ควรถอด Toner ออกมาเพื่อเช็ดทำความสะอาดบริเวณรางสำหรับ Feed กระดาษจะช่วยลดปัญหากระดาษติดได้  และควรให้ความสำคัญอีกอย่างคือตัวพัดลมนั่นเองซึ่งก็รู้กันอยู่แล้วว่าพัดลม
นั้น  เป็นสิ่งที่เกาะฝุ่นได้อย่างดี  ระบบระบายความร้อน  เพราะ เครื่องพรินแบบ Laser นั้นจะมีความร้อนในการทำงานสูง  พัดลมระบายความร้อนจึงมีความสำคัญมากโดยเฉพาะที่มช้งานเป็นระยะเวลานาน  จึงควรที่จะเอาใจใส่ด้วยเพราะจะเป็นการยืดอายุเวลาการใช้งานของเครื่องพรินเตอร์  ไม่ควรที่ให้จะฝุ่นมาติดหรือเกาะที่พัดลมเป็นจำนวนมากเกินไป  เพราะลดความร้อนของเครื่องนั้นด้วย
พรินเตอร์แบบ  Inket แบบที่มีการติดตั้งหมึกแบบแทงค์  ก็ควรมีการทำความสะอาดชุดแทงค์หมึกนั้นด้วย  อาจจะประมาณเติมหมึกสองครั้งแล้วก็นำมาทำความสะอาด  สักหนึ่งครั้ง  เพื่อไม่ให้มีหมึกที่เหลืออยู่แล้วแห้งรวมถึงที่ตัวสายยางเอง  ถ้าไม่ทำความสะอาดแล้วก็จะทำให้การใช้งานของเครื่องพรินเตอร์ลดลงได้

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)12

Power Supply นั้นมีความสำคัญอย่างไร

            หลายคนมีความสงสัยว่าทำไม Power Supply ที่จำหน่ายในท้องตลาดนั้นมีรายยี่ห้อ  หลายราคามากมาย  ทำไมบางยี่ห้อนั้นมีราคาสูงมากหลังพันเลยทีเดียว  บางอันนั้นก็แค่ 3 – 4 ร้อยบาทเอง  วันนี้ผมจะมาอธิบายว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น  จะได้ทำความเข้าใจในการเลือกซื้อที่ถูกต้องด้วยครับ
            ทำไมจึงมีหลายราคาเนื่องจากในสมัยก่อนไม่ค่อยมีใครจะจำหน่ายราคาแพงเท่าไหร่  เพราะขายยากแต่ตามจริง Power Supply นั้นเป็นหม้อแปลงกระแสไฟฟ้าให้มีจำนวนแรงดันกระแสไฟฟ้าให้เข้ากับอุปกรณ์นั้นๆ  โดยจะมีการระบุในแต่ละสาย  ดังนั้นหากกระแสไฟฟ้าจ่ายไม่นิ่งละจะเกิดอะไรขึ้น  ก็จะทำให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ของเราที่ใช้อยู่อายุไม่ยืนยาวเท่าที่ควรเนื่องการกระซากของกระแสไฟฟ้าที่ไม่เสถียรโดยเฉพราะฮาร์ดดิสก์  ในขณะที่กำหลังอ่านอาจจะทำให้เขียนหรืออ่านสะดุดแล้วก็พังง่ายๆ  ส่วนอุปกรณ์อย่างอื่นก็ทำให้พังง่ายได้เช่นกันไม่ว่าจะเป็นเมนบอร์ดของเรา ที่จะส่งไป CPU อาจจะทำให้เครื่องเราค้างบ่อยๆ ได้นะครับ  เพราะดังนั้นแล้วหากเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราใช้งานหนักจะมีผลกระทบเป็นอย่างมาก  ต้องทำงานในการรับกระแสไฟฟ้านานๆ  ไม่ได้พัก เหตุผลที่ว่าของแพงมีดีคือการจ่ายกระแสไฟฟ้าที่นิ่งและมีคุณสมบัติอื่นๆ  อย่างเช่นในการปรับพัดลมอัตโนมัติ มีการรับประกัน 3 ปี ขึ้นไป หรือว่ามีวัสดุที่ดีมีสายเสียบที่เยอะมากขึ้น  และอื่นๆ  ดังนั้นแล้ว Power Supply ไม่ควรมองข้ามเป็นอย่างยิ่ง
            ในการเลือกซื้อควรคำนวณจะอุปกรณ์ที่เราใช้ว่ามีมากน้อยขนาดไหน  บางตัวที่ถูกจะมีการจ่าย Watt ที่ไม่เต็มหากต้องการซื้อของถูกต้องเผือ Watt ไว้ด้วย  สำหรับยี่ห้อไม่ต้องมากก็สามารถที่จะรองรับอุปกรณ์ได้เต็ม Watt

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)11

จอ LED คืออะไร

มารู้จักพบมอนิเตอร์แบบแอลอีดี(LED)
ยุคนี้ถือเป็นยุคของแอลซีดีเฟื่องฟูอย่างแท้จริง  ไม่ว่าจะมอนิเตอร์หรือทีวีก็ตาม  ด้วยราคาที่แสนเร้าใจ  แถมยังคุณภาพของภาพที่ได้ก็ดีขึ้นมากใกล้เคียงจอแบบ CRT  เข้าไปทุกขณะ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งจอแอลอีดี – แอลซีดี  เริ่มมีมาให้เห็นกันมากขึ้น  แต่คงยังมีความสับสนอยู่ไม่น้อยกับจอภาพแอลอีดี-แอลซีดีที่เข้ามาจำหน่วยอยู่ในเวลานี้  แท้จริงแล้วคืออะไร  เป็นแบบไหนกันแน่หาคำตอบให้หายสงสัยจากบทความนี้เลยครับ
แอลอีดี(LED) – แอลซีดี(LCD)
ยังมีความสับสนกันไม่น้อยสำหรับจอภาพแอลอีดี LED ย่อมาจาก Light-emitting-diod ที่มีออกมาจำหน่วยในเวลานี้ส่วนหนึ่งก็เพราะคำโฆษณาของผู้ผลิต  ทำให้ผู้ใช้เข้าใจไปว่ามันคือจอภาพแบบใหม่  เป็นเทคโนโลยีใหม่  แท้จริงแล้ว  ต้องเรียกว่าเป็นจอภาพที่เป็นเทคโนโลยีใหม่  เป็นยุคถัดไปที่จะมาแทนที่แอลซีดี  เรียกว่า จอภาพแบบโอแอลอีดี(OLED) จะใช้หลอดแอลอีดีมาเรียงรายกันบนพาแนลแล้วทำให้เกิดภาพด้วยการติด – ดับของหลอดแอลซีดีซึ่งก็ได้ภาพที่ตาเรามองเห็นออกมา  ซึ่งในเสลานี้มันยังมีราคาที่สูงเอามากๆ  มีแต่ตัวตันแบบออกมาให้เห็นเท่านั้นเอง  ด้วยต้นทุนที่สูงอยู่ทำให้ยังไม่สามารถผลิตออกมาเพื่อจำ
หน่วยได้จริง  รวมไปถึงยังพัฒนาไปได้ไม่เต็มที่นัก  เพราะยังไม่สามารถผลิตจอภาพโอแอลอีดีที่มีขนาดใหญ่มาก  อีกทั้งคุณภาพที่ได้เทียบกับจอแอลซีดีรุ่นใหม่ที่ได้รับการพัฒนามาเยอะแล้ว  ภาพของแอลซีดียังถือว่าทำได้ดีกว่า  และยิ่งเทียบกับราคาต่อขนาดกันแล้ว  ในเวลานี้เลิกคิดจอโอแอลอีดีกันไปได้เลย  รออีกอย่างน้อยต้นปีหน้า  เราถึงจะได้เห็นจอภาพแบบโอแอลดอีดีตัวแท้ๆ  ออกมาจำหน่วยแต่ก็ยังไม่กล้าคิดถึงราคาว่าจะสูงเพียงใด
จอ LEDจอ LCD
ได้ทำความรู้จักกับจอภาพที่เป็นเทคโนโลยีใหม่  จอภาพแบบโอแอลอีดีกันบ้างไปแล้ว  คราวนี้เรามาเรื่องจอแอลอีดีซึ่งเป็นหัวข้อหลักของเราในบทความนี้กันต่อ  สำหรับจอแอลอีดีซึ่งเป็นหัวข้อหลักของเราในบทความนี้กันต่อ  สำหรับจอแอลอีดีที่จำหน่ายกันอยู่เวลานี้  เรียกว่าอยู่ในกระแสที่คนกำลังให้ความสนใจกันไม่น้อยทีเดียว  แท้จริงแล้วมีนก็คือจอภาพแบบแอลซีดีที่เราใช้กันอยู่  เพียงแต่มีการปรับเปลี่ยนการทำงานภายใน  งานนี้ต้องนึกไปถึงการทำงานของจอแอลซีดีกันเล็กน้อย  โดยโครงการสร้างภาพของแอลซีดีจะใช้การเปลี่ยนแปลงของเหลวที่อยู่ภายใน  ซึ่งทำปฏิกิริยาแบบผกผันลันกับอุณหภูมิซึ่งไม่ควนเอาโน้ตบุ๊กไว้ในรถนะครับ  แล้วใช้การยิงลำแสงผ่านจากด้านหลังพาแนลที่เรียกกันว่าแบ็กไลต์ (Backlit  เป็นคนละแบบกับแสงแบ็กไลต์ที่จสะท้อนแสงในที่มืด) ซึ่งเป็นสีขาวโดยใช้หลอดฟลูออเรศเซนแบบเย็น (CCFL : Clod Cathohe) ทำให้เกิดขึ้นมาเป็นภาพที่ตาเราสองเห็นได้  แท้จริงแล้วก็เหมือนเราดู “เงา” ของผลึกเหลวในขณะทำงาน  เพราะจอภาพแอลซีดีไม่สามารถกำเนิดแสงได้ด้วยตนเองจึงต้องใช้การยิงแสงแบ็กไลต์(Backlit) นั้นเอง  ซึ่งตรงจุดนี้ล่ะแบ็กไลต์จากเดิมซึ่งใช้เป็นหลอดไฟฟลูออเรสเซนแบบเย็น (CCFL : Clod Cathohe) มาใช้เป็นหลอดแอลอีดีแทน  และยังเป็นการใช้หลอดแอลอีดีถึงสามสีประกอบด้วยแม่สี  แดง  เขียว  น้ำเงิน (RGB)
แอลอีดี  อีกระดับของภาพจากจอภาพแอลซีดี
การเปลี่ยนมาใช้ไปแบ็กไลต์เป็นหลอดแอลอีดี  มีผลดีตามมาหลายด้านพอตัวครับ  โดยเฉพาะเรื่องของภาพที่มันช่วยเพิ่ม  Contrast  ให้กับภาพที่แสดงผลออกมา  จึงแสดงรายละเอียดต่างๆ  ของภาพได้ดีขึ้น  โดยเฉพาะในฉากที่แสดงผลออกมา  จึงแสดงรายละเอียดต่างๆของภาพให้ดีขึ้น  โดยเฉพาะในฉากที่มีภาพมืดหรือฉากที่มีระดับความสว่างของวัตถุอยู่หลายระดับ  แสดงผลสีดำได้ลึกและดูมีมิติมากขึ้น  ลบข้อด้อยในการแสดงผลสีดำที่ติดตัวจอภาพแอลซีดีมาช้านานนั้นลงไปใกล้เคียงภาพจากจอพลาสมาที่แสดงผลสีดำได้อย่างยอดเยี่ยมเข้าไปทุกที  ช่วยให้แอลซีดีพาแนลสามารถแสดงสีสันได้ดีขึ้น (wider clolor gamut) ทำให้ภาพดูเป็นธรรมาชาติ  นอกจากข้อดีในเรื่องของภาพที่ดีขึ้นแล้วยังได้ในเรื่องของดีไซน์ด้วยเพราะจอภาพมีขนาดบางลง  ความร้อนในขณะจอทำงานลดลงและประหยัดพลังงานมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย  ด้วยข้อดีหลายอย่างที่เกิดขึ้นก็เลยทำให้จอแอลอีดีดูน่าซื้อมาใช้เป็นที่สุด
เอสวีโอเอ เปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ล่าสุด SVOA เฮอร์มีส (SVOA Hermes M735T) แบรนด์ไทยรายแรกที่ใช้ จอ LED พร้อมรองรับชิปอินเทล™ เซนทริโน™ 2 เทคโนโลยีล่าสุด ราคาเพียง 24,990 บาท
LCD VS LED
ชนิดของBacklight
CCFL
LED
ชื่อของทีวีในตลาด
LCD
LED
คุณภาพของภาพโดยรวม
7
9
ความสว่าง
8
8
สีสัน
7
9
ระดับสีดำ
7
9
อัตราการกินไฟ
7
10
ความบาง
7
9
ระดับราคา
9
6
ความคุ้มค่า
เครื่องถูกกว่า ค่าไฟแพงกว่า
เครื่องแพงกว่า ค่าไฟถูกกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2556

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)10

โมเด็ม (Modem)

โมเด็ม (Modem)
โมด็มเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตกับสายโทรศัพท์  โดยจะทำหน้าที่แปลงสัญญาณจากอะนาล็อกเป็นดิจิตอล  และจากดิจิตอลป็นอะนาล็อก  เพื่อส่งสัญญาณให้เรามาเล่นเน็ต  ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่2 ประเภทคือ เป็นภายใน (Internel Modem) และ ภายนอก (External Modem) ซึ่งมีความเร็วที่ 56 K เป็นต้นไป จนถึง เป็นหลาย เมะบิตต่อวินาที (Mbps)
โมเด็ม (Modem) ภายใน
โมเด็ม (Modem) ภายนอก

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)9

ไดรว์ CD/DVD

ไดรว์ CD/DVD
ไดรว์ CD/DVD เป็นเครื่องอ่านข้อมูลชนิดหนึ่งซึ่งใช้แสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูล  โดยเครื่องนี้ในปัจจุบันสามารถทั้งอ่านและยังเขียนได้ด้วย  ทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานมากยิ่งขึ้น  และสื่อ CD/DVD ในปัจจุบันนั้นมีมากมายจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ ไดรว์ CD/DVD โดยความเร็วในปัจจุบันถึง 54x DVD จะมีความเร็วในการอ่านอยู่ที่ 16 x  ซึ่งมีทั้งแบบการเชื่อมต่อจากภายนอกและการเชื่อมต่อจากภายใน จากอดีตฟลอปปี้ดิสก์ขนาด 3.5นิ้วหนึ่งแผ่นมี ความจุเพียง 1.44 เมกะไบต์ แต่สำหรับแผ่นซีดีรอมขนาด 5.25 นิ้วหนึ่งแผ่นมีความจุมากถึง 650 เมกะไบต์ หรือที่เป็น DVD สามารถรุได้สูงสุด ถึง 30 ในแบบ  Blu-ray Discซีดีรอมนอก จากจะมีความจุมากแล้วยังช่วยให้มีความเร็วในการติดตั้งโปรแกรมด้วยเพราะคุณไม่ต้องเสียเวลาในการสลับแผ่นเหมือน ฟลอปปี้ดิสก์ และยังมีความเร็วในการอ่านข้อมูลเร็วกว่าแผ่นดิสก์ทำให้มีการนำเอาซีดีรอมมาใช้มากขึ้น
ไดรว์ CD/DVD แบบเชื่อมต่อภายใน
ไดรว์ CD/DVD แบบเชื่อมต่อภายนอก

ส่วนประกอบด้วยหน้าของ ไดรว์ CD/DVDส่วนประกอบด้วยหลังของ ไดรว์ CD/DVD

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)8

แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)

แหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
แหล่งจ่ายไฟมีหน้ามีหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับอุปกรณ์ภายในของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเลย  ซึ่งก้มีหลายแบหลายขนาดให้เลือกในปัจจุบัน  ทั้ง 300 w 500w หรืออื่นอีกมากมาย  โดยจะนำกระแสไฟฟ้าที่จ่ายตามบ้าน  220 โวลต์  ก็เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งที่เราต้องเอาใจใส่ด้วย  เพราะถ้าเกิดแหล่งจ่ายไฟไม่ดีก็เหมือนกองทัพขาดเสบียง  ไม่พอกอินไม่พอใช้และแล้วก็หมดแรงสู้คนอื่นไม่ได้  เหมือนกันครับ  ถ้าแหล่งจ่ายไฟฟ้าไม่เพียงพอ  ก็อาจจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณน็อกไปเลย
ลักษณะภายนอกของแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)
ลักษณะภายในของแหล่งจ่ายไฟ (Power Supply)

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)7

การ์ดเสียง(Sound Card)

การ์ดเสียง(Sound Card)
การ์ดเสียงมีหน้าที่ในการแปลงสัญญาณเสียง  ประกอบไปด้วยซิปที่มีหน้าที่ในการประมวลผลด้วยเสียงเป็นหลัก  และจะมีหัวต่อที่ใช้ต่อให้กับลำโพงนั่นเอง  ซึ่งคุณภาพของเสียงนั้นจะขึ้นอยู่กับตัวนี้ด้วย  โดยส่วนมากแล้วเมนบอร์ดจะติดตั้งมาด้วย  เรียกว่า On Board นั้นเอง  ซิปของผู้ผลิตส่วนใหญ่จะมี  Creative,C-Media เป็นต้น  ผู้ผลิตซิปต่างๆ  เหล่านี้จะพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ  เพื่อเพิ่มคุณภาพ

ลักษณะของการ์ดเสียง(Sound Card)

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)5

ฮาร์ดดิสก์ (Harddisk)

ฮาร์ดดิสก์ถือได้ว่าเป็นหน่วยความจำถาวรที่จำเป็นมากในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราเพราะ  เป็นคลังของข้อมูลของเครื่องที่ขาดไม่ได้  ทั้งระบบปฏิบัติการทั้งโปรแกรมต่างๆ  เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ที่ฮาร์ดดิสก์  ถือได้ว่าเก็บข้อมูลจำนวนมหาศาลมากมาย  ความจุของฮาร์ดดิสก์ มีหน่วยเป็น GB (กิกะไบต์)
ส่วนประกอบต่างๆ  ภายใน ฮาร์ดดิสก์
ชนิดของ ฮาร์ดดิสก์ 2 แบบที่นิยมคือ
1.IDE ฮาร์ดดิสก์แบบนี้จะมีการเชื่อมต่อผ่านสายแพ  ซึ่งมีจำนวน 80 เส้น  โดยจะมีความเร็วที่  100 MB/s ถึง 133 MB/s ในปัจจุบันฮาร์ดดิสก์ แบบนี้เริ่มจะล้าสมัยเลยไม่ค่อยเห็นคนใช้แล้ว  แต่ยังเครื่องรุ้นเก่าบ้างเครื่องยังจำเป็นต้องใช้
ฮาร์ดดิสก์แบบIDE
2.SATAเป็นฮาร์ดดิสก์ ที่นิยมใช้งานกันมากในขนาดนี้เพราะว่า  มีความเร็วกว่า  กินไฟน้อยกว่า  ประหยัดพื้นที่  และในขนาดนี้มีราคาที่น้อยกว่า แบบ IDE  และมีสายเชื่อมต่อที่เล็กกว่า

ฮาร์ดดิสก์แบบSATA

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)4

แรม(RAM)

แรมเป็นหน่วยความจำหลักที่ใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูลตลอดเวลาในขณะที่เครื่องทำงาน  เมื่อ ซีพียู  เรียกคำสั่งจะบรรจุเข้าไปในแรมถึงแม่แรมจะหน่วยความจำหลักแต่เป็นหน่วยความจำที่ใช้งานและเก็บอยู่ไม่ถาวรเพราะถ้าเราปิดเครื่องไปแล้ว  ข้อมูลจะหายไป ซึ่งใช้ประสานงานข้อมูล  แรมเป็นอุปกรณ์หนึ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับข้อมูลหลัก  ดังนั้นจึงมีส่วนต่อความเร็วของเครื่องด้วย  แรมมีหลายประเภท  ซึ่งจะแตดต่างในเรื่องของความเร็ว  และทั้งลักษณะของตัวแรมเอง  เช่น รอยบาก จำนวนขานั้นเอง
ประเภทของแรม จะขอกล่าวประเภทที่นิยมใช้ในปัจจุบัน1.DDR2DDR2 เป็นแรมที่มีความเร็วตั้งแต่ 533 – 1,066 MHz และมีแรงดันไฟฟ้า  1.8 โวลต์  ในแผงวงจรนั้นมีทั้งหมด 240 ขา ณ ปัจจุบันแรมชนิดนี้เป็นที่นิยมอย่างมากเพราะราคาไม่สูง  และความเร็วดี
ลักษณะของ DDR2

2.DDR3
DDR3  เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดที่เพิ่มเข้ามาด้วยประสิทธิภาพในด้านความเร็วที่สูงกว่าชนิดอื่นๆ ที่ได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากมาตรฐาน DDR และ DDR2  ไม่สะสมความร้อนและใช้พลังงานต่ำ ซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการจากองค์กร JEDEC (Joint Electron Devie Engineering Council) ผู้กำหนดมาตรฐานเทคโนโลยีชิ้นส่วนอีเล็คทรอนิคระดับโลก  ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วราคายังสูงอยู่  ซึ่งมีความเร็ว ตั้ง 800 MHz ขึ้นไป
ลักษณะของ DDR3

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)3

เมนบอร์ด (Mainboard)

เมนบอร์ด (Mainboard)
เมนบอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญรองมาจากซีพียู เมนบอร์ดทำหน้าที่ควบคุม ดูแลและจัดการๆ ทำงานของ อุปกรณ์ชนิดต่างๆ แทบทั้งหมดในเครื่องคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ซีพียู ไปจนถึงหน่วยความจำแคช หน่วยความจำหลัก ฮาร์ดดิกส์ ระบบบัส บนเมนบอร์ดประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ มากมาย  เมนบอร์ดที่ใช้งานในปัจจุบันนั้นส่วนใหญ่เป็นแบบ ATX เกือบทั้งหมดแล้ว  เทคโนโลยีของเมนบอร์ดเองก็ได้มีการพัฒนาไปมากเช่นกัน  ซึ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาในการเพิมประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น  มีสีสันที่สวยงามโดยเฉพาะคนที่ชอบแต่งเครื่องของตัวเองจะเลือกสีสันที่มีความสวยงาม

มารู้จักส่วนประกอบของเมนบอร์ด

1.ซ็อกเก็ตซีพียู


ซ็อกเก็ตซีพียู เป็นที่ติดตั้งของตัวซีพียูเองจะมีลักษณะตามรุ่นตามยี่ห้อ หรือตามซีพียูที่เราจะใส่  ดังนั้นเราควรที่จะเลือกให้ตรงกันด้วย
2. พอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่อทางด้านหลังของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นจะมีพอร์ตที่ใช้ในการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆ  ที่อยู่ภายนอก  ซึ่งแต่ล่ะพอร์ตจะมีรูเสียบเฉพาะของอุปกรณ์ที่ต่อนั้นจะไม่ค่อยต่อผิดกัน มาดูตัวอย่างกันว่าแต่ล่ะพอร์ตนั้นใช้ต่อกับอะไรบ้าง

1 .PS/2 เป็นพอร์ตไว้สำหรับการเชื่อมต่อ เมาส์และคีย์บอร์ด  โดยทั่วไปแล้วเมาส์จะเป็นสีเขียว  และคีย์บอร์ดจะเป็นสีม่วง ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีการเปลี่ยนมาใช้ USB แต่ก็ยังมี PS/2 มีใช้อยู่เป็นจำนวนมาก

2. Firewire เป็นพอร์ตการเชื่อมต่อที่มีลักษณะคล้ายกับ USB ซึ่งมีอัตราความเร็วกว่า  ด้วยมาตรฐาน IEEE 1394a มีอัตราการเชื่อมต่อรับ/ส่งข้อมูล  400MB/s อุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อเช่น ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก
3.eSATA เป็นการเชื่อมสำหรับ ฮาร์ดดิสก์แบบภายนอก เช่นกัน
4. USB เป็นการเชื่อมต่อภายนอกแบบต่างๆ  แล้วจะมีพอร์ตนี้มากเป็นพิเศษเพราะว่ามีอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อได้หลากหลาย  อย่างเช่นเครื่องพิมพ์ เมาส์ และอื่นๆอีก รวมถึงเฟรตไดร์ด้วย สำหรับความเร็วแล้วอยู่ที่ 480MB/s
5.LAN ช่องการเชื่อมต่อแลน  ใช้สำหรับการเชื่อมต่อเครือข่ายที่อยู่ในระบบ
6. ช่องต่อเสียง ไว้สำหรับการเชื่อมต่อเสียง ทั้งเสียง Input และ Output ทั้งลำโพง  ทั้งไมค์
3.สล็อต์ AGP
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อของการ์ดแสดงผล  มีทั้ง AGP และ PCI Express  เพื่อเชื่อมต่อให้กับมอนิเตอร์ใช้ในการแสดงผล
4.สล็อต PCI
ใช้สำหรับการเชื่อมต่อการ์ดต่างๆที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่นการ์ดเสียง  การ์ดแลน และโมเด็มใช้สำหรับการเชื่อมต่อ

5.ตัวอ่านแผ่นดิสก์
ซึ่งปัจจุบันไม่ได้ใช้แล้วแต่ให้สำหรับการเชื่อมต่อ Memory Card ต่างๆ แต่ต้องชื้อตัวมาเพิ่ม
6.ซิปเซตถือได้ว่าเป็นมีความสำคัญ  เพราะทำหน้าที่ควบคุมการทำงานต่างๆบนเมนบอร์ด  โดยจะมีซิปเซตอยู่ 2 ส่วนด้วยกันคือ
-   North  Bridge จะทำหน้าที่คอบควบคุม ซีพียู แรม และการ์ดแสดงผล
-   South  Bridge  จะทำหน้าที่ควบคุมสล็อตต่างๆ
7.หัวต่อ SATA
ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อฮาร์ดดิสก์  แบบ SATA ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม  ซึ่งมีข้อดีทั้งประหยัดพลังงานและประหยัดพื้นที่  อีกทั้งยังทำให้ระบายความร้อนภายในเคสได้ดีอีกด้วย
8.หัวต่อแบบ IDEใช้ในการเชื่อมต่อแบบ IDE ทั้งแบบที่เป็นฮาร์ดดิสก์ และ CD/DVD ROM
9.ต่อแหล่งจ่ายไฟ


ที่ใช้สำหรับในการต่อแหล่งกระแสไฟฟ้า  จากพาวเวอร์ซับพราย  โดยจะมีทั้งรุ่นเดิมที่ใช้ 20 Pin และในปัจจุบัน 24 Pin โดยจะมีทั้งหมด อยู่ 2 แถว
10.ซ็อกเก็ตแรม


โดยใช้สำหรับใส่แรม โดยมีทั้งแบบ Dual Channel และ Triple Channel
11.ตัวเชื่อมปุ่มควบคุมใช้ในการเชื่อมต่อปุ่ม Power ปุ่ม รีสตาร์    และแสดง ไฟของการทำงานฮาร์ดดิสก์ และไฟขณะทำงาน
12.ตัวต่อ USBใช้ในการเชื่อมต่อ USB ภายในเคส  เพื่อเพิ่มในการเชื่อมต่อ USB ที่มากขึ้น

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์(ต่อ)2

ซีพียู

ซีพียูเป็นหน่วยประมวลผลกลางของคอมพิวเตอร์ (Central Processing Unit) ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์  คำนวณ และเปรียบเทียบข้อมูลตามเงื่อนไขของโปรแกรม  ซึ่งถือได้ว่าเป็นหัวใจหลักของคอมพิวเตอร์เลยก็ว่าได้  โดยพื้นฐานแล้วจะทำหน้าที่ประมวลผลทางคณิตศาสตร์และข้อมูลเชิงตรรกยะ   ปัจจุบันได้พัฒนาไปอย่างมาก  ภายในตัวของซีพียูนั้นจะประกอบไปด้วยสารกึ่งตัวนำเรียกว่า  “Silicon”  ได้มีการนำไปผสมกับสารตัวอื่นเพื่อให้สามารถนำไฟฟ้าได้  โดยจะนำ Silicon มาประกอบและทำการจัดเรียงเป็นทรานซิสเตอร์  ดังนั้นซีพียูตัวหนึ่งจะประกอบไปด้วยทรานซิลเตอร์จำนวนหลายล้านตัวเลยทีเดียว
ซีพียูนั้นจะประกอบไปด้วย ขาจำนวนหนึ่งซึ่งแล้วแต่รุ่นของซีพียู  และผู้ผลิตว่าจะให้จำนวนเท่าไหร่  แล้วไดนำมาเป็นชื่อซ็อกเก็ตของเมนบอร์ดด้วย  ซึ่งในปัจจุบันนั้นได้ออกมาหลายรุ่นให้เลือกให้ตั้งแต่ที่มีประสิทธิภาพ สูงๆ  จนลงมาถึงแค่พอให้ได้พอ  ถึงจะเป็นระดับต่ำแต่ว่าประสิทธิภาพแต่ก็สามารถใช้งานได้ดี  โดยมีหน่วยความเร็วเป็น GMz สำหรับผู้ผลิตก็มีทั้งของ Intel และ AMD
                                        ลักษณะของ ซีพียู

 

อุปกรณ์คอมพิวเตอร์


อุปกรณ์ภายนอก 

1.จอมอนิเตอร์
จอมอนิเตอร์เป็นส่วนประกอบภายนอกคอมพิวเตอร์  มีหน้าที่เพื่อเอาไว้สำหรับแสดงผล  ซึ่มีหน้าที่ในการแปลงเป็นสัญญาณภาพสำหรับแสดงผล  ในปัจจุบันนั้นชนิดของมอนิเตอร์มีหลากหลายขึ้นและ  มีหลายขนาดให้เลือกซื้อ ตั้งแต่ 17,18,19,20,21..... ส่วนจอมอนิเตอร์เองก็มีหลายชนิด CRT , LCD และมีเทคโนโลยีใหม่ที่เรียกว่าจอ LED  ที่มีคุณสมบัติไม่ต่างจาก LCD มากนัก  และในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ  มากมายที่บรรจุเข้าไปเพื่อเพิ่มความสามารถให้กับการแสดงผล  โดยจะมีสายในการเชื่อมต่อจากตัวการ์ดจอหรือเมนบอร์ด จะมีช่องต่อ แบบ D-Sub และ DVI ในปัจจุบัน

จอมอนิเตอร์ แบบ CRT
จออมนิเตอร์แบบ LCD
จอมอนิเตอร์แบบ LDE















2.เคส

เป็นกล่องที่มีรูปร่างต่างๆ ซึ่งแล้วแต่คนที่ออกแบบว่าจะให้มีแบบใด  และมีสีสันที่สวยงาม ซึ่งเปรียบเสมือนร่างกายของคอมพิวเตอร์  ซึ่งภายในได้บรรจุอุปกรณ์ที่สำคัญไว้  และปกติแล้วเวลาที่เราซื้อนั้นจะมีพาวเวอร์ซัพพรายให้เราด้วยซึ่งมีหน้าที่ในการจ่ายกระแสไฟฟ้านั้นเอง 
ลักษณะของเคส

3.เมาส์แน่นอนครับน้อยคนนักที่ไม่รู้จักเมาส์  เป็นอุปกรณ์ input ชนิดหนึ่งที่เอาไว้เลื่อนลูกศรในการใช้งาน  มีเป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิกที่สัญลักษณ์รูปหรือไอคอน (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ  ซึ่งหลากหลายสีสัน  มีหลายแบบ ทั้งแบบมีสายและไม่มีสาย
ลักษณะของเมาส์

4.คีย์บอร์ดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับในการป้องข้อมูลตัวอักษรหรือตัวเลข  และยังทำหน้าที่ในการควบคุมทิศทางต่างๆ  ของโปรแกรมนั้นๆด้วย  ซึ่งก็มีหลายแบบหลายฟังชันก์ต่างๆ แล้วแต่สามสะดวกของผู้ใช้มีมั้งมีสายและไม่มีสายเช่นกัน
ลักษณะของคีย์บอร์ด

5.เครื่องพิมพ์เครื่องพิมพ์ (Computer printer) คืออุปกรณ์ที่จะแปลการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ออกมาในรูปแบบกระดาษ ทั้งรูปภาพและอักษร เครื่องพิมพ์แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
1.เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ การทำงานของเครื่องพิมพ์ประเภทนี้คือจะใช้การสร้างจุดลงบนกระดาษ ซึ่งหัวพิมพ์จะมีลักษณะเป็นหัวเข็ม เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ หัวเข็มที่อยู่ในตำแหน่งตามรูปประกอบนั้นๆ จะยื่นออกมามากกว่าหัวอื่นๆ และกระแทกกับผ้าหมึกลงกระดาษที่ใช้พิมพ์ จะทำให้เกิดจุดมากมายประกอบกันเป็นรูปเกิดขึ้นมา เครื่องพิมพ์ประเภทนี้เป็นที่นิยมกันอย่างมากเพราะมีราคาถูกและคุณภาพเหมาะสมกับราคา แต่ข้อเสียคือเวลาสั่งพิมพ์จะเกิดเสียดังพอสมควร
เครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ ในปัจจุบันส่วนใหญ่ นิยมใช้กันมี 2 แบบ
เครื่องพิมพ์แบบ 9 เข็ม
เครื่องพิมพ์แบบ 24 เข็ม
ลักษณะเครื่องพิมพ์แบบ ดอตแมทริกซ์
2.เครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต (Inkjet Printer) เป็นเครื่องพิมพ์ที่ทำงานโดยการพ่นหมึกออกมาเป็นหยดเล็กๆ ลงบนกระดาษ เมื่อต้องการพิมพ์รูปทรงหรือรูปภาพใดๆ เครื่องพิมพ์จะทำการพ่นหมึกออกตามแต่ละจุดในตำแหน่งที่เครื่องประมวลผลไว้อย่างแม่นยำ ตามความต้องการของเรา ซึ่งเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะมีคุณภาพดีกว่าเครื่องพิมพ์ดอตแมทริกซ์ โดยรูปที่มีความซับซ้อนมากๆเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึกจะได้ผลลัพธ์ที่ดีกว่า ชัดเจนและคมชัดกว่าแบบดอตแมทริกซ์
ลักษณะเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก หรือ เครื่องพิมพ์อิงก์เจ็ต
3.เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นเครื่องพิมพ์ที่ใช้เทคโนโลยีเดียวกับเครื่องถ่ายเอกสาร คือยิงเลเซอร์ไปสร้างภาพบนกระดาษในการสร้างรูปภาพ หรือตัวอักษร ซึ่งผลลัพธ์ที่ออกมาจะมีคุณภาพสูงมาก และราคาเครื่องพิมพ์ก็มีราคาสูงมากด้วยเช่นกัน ซึ่งเครื่องพิมพ์เลเซอร์จะทำงานได้เร็วกว่าเครื่องพิมพ์แบบพ่นหมึก แต่คุณภาพของผลลัพธ์ทั้งด้านความคมชัดและรายละเอียดทำออกมาได้ดีกว่าแบบพ่นหมึกมาก
ลักษณะเครื่องพิมพ์เลเซอร์
4.พล็อตเตอร์ (Plotter) เป็นเครื่องพิมพ์แบบที่ใช้ปากกาในการเขียนข้อมูลลงบนกระดาษ ซึ่งเครื่องพิมพ์ประเภทนี้เหมาะกับงานเขียนแบบของวิศวกรและสถาปนิก และเครื่องพิมพ์ประเภทนี้มีราคาแพงที่สุดในเครื่องพิมพ์ประเภทต่างๆ

คอมพิวเตอร์


                                                               คอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ (อังกฤษcomputer) หรือในภาษาไทยว่า คณิตกรณ์ เป็นเครื่องจักรแบบสั่งการได้ที่ออกแบบมาเพื่อดำเนินการกับลำดับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์หรือคณิตศาสตร์ โดยอนุกรมนี้อาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อพร้อม ส่งผลให้คอมพิวเตอร์สามารถแก้ปัญหาได้มากมาย
คอมพิวเตอร์ถูกประดิษฐ์ออกมาให้ประกอบไปด้วยความจำรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเก็บข้อมูล อย่างน้อยหนึ่งส่วนที่มีหน้าที่ดำเนินการคำนวณเกี่ยวกับตัวดำเนินการทางตรรกศาสตร์ และตัวดำเนินการทางคณิตศาสตร์ และส่วนควบคุมที่ใช้เปลี่ยนแปลงลำดับของตัวดำเนินการโดยยึดสารสนเทศที่ถูกเก็บไว้เป็นหลัก อุปกรณ์เหล่านี้จะยอมให้นำเข้าข้อมูลจากแหล่งภายนอก และส่งผลจากการคำนวณตัวดำเนินการออกไป
หน่วยประมวลผลของคอมพิวเตอร์มีหน้าที่ดำเนินการกับคำสั่งต่างๆ ที่คอยสั่งให้อ่าน ประมวล และเก็บข้อมูลไว้ คำสั่งต่างๆ ที่มีเงื่อนไขจะแปลงชุดคำสั่งให้ระบบและสิ่งแวดล้อมรอบๆ เป็นฟังก์ชันที่สถานะปัจจุบัน
คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกถูกพัฒนาขึ้นในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 20 (ค.ศ. 1940 – ค.ศ. 1945) แรกเริ่มนั้น คอมพิวเตอร์มีขนาดเท่ากับห้องขนาดใหญ่ ซึ่งใช้พลังงานมากเท่ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (พีซี) สมัยใหม่หลายร้อยเครื่องรวมกัน
คอมพิวเตอร์ในสมัยใหม่นี้ผลิตขึ้นโดยใช้วงจรรวม หรือวงจรไอซี (Integrated circuit)โดยมีความจุมากกว่าสมัยก่อนล้านถึงพันล้านเท่า และขนาดของตัวเครื่องใช้พื้นที่เพียงเศษส่วนเล็กน้อยเท่านั้น คอมพิวเตอร์อย่างง่ายมีขนาดเล็กพอที่จะถูกบรรจุไว้ในอุปกรณ์โทรศัพท์มือถือ และคอมพิวเตอร์มือถือนี้ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่ขนาดเล็ก และหากจะมีคนพูดถึงคำว่า "คอมพิวเตอร์" มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลซึ่งถือเป็นสัญลักษณ์ของยุคสารสนเทศ อย่างไรก็ดี ยังมีคอมพิวเตอร์ชนิดฝังอีกมากมายที่พบได้ตั้งแต่ในเครื่องเล่นเอ็มพีสามจนถึงเครื่องบินขับไล่ และของเล่นชนิดต่างๆ จนถึงหุ่นยนต์อุตสาหกรรม